กล้อง...เป็นหัวใจของการถ่ายภาพ ดังนั้นถ้าเราต้องการถ่ายภาพให้ภาพที่ได้ออกมามีสีสรรสวยงาม เราจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้กล้องให้ถูกต้อง หวังว่าเพื่อนๆ คงมีกล้องแล้วคนละ 1 ตัว ต่างคนต่างยี่ห้อ แต่ว่าฟังชั่นการทำงานหลักๆ เหมือนกันทุกประการ ผมขอยกตัวอย่างจากกล้อง SLR แบบแมนนวล ที่ค่อนข้างจะมีปุ่มปรับที่เด่นชัด ส่วนกล้องออโตโฟกัสถึงแม้จะมีรูปทรงที่แตกต่างกันไป ปุ่มปรับต่างๆ คล้ายปุ่มเกมส์กด แต่ผลของการปรับก็เหมือนกัน เปรียบเทียบได้กับ TV รุ่นก่อนๆ ที่เปลี่ยนช่องโดยใช้วิธีการหมุนปุ่มบิด เวลาจะเปลี่ยนช่องกันทีก็ต้องหมุนปุ่มลูกบิดดังดังแป๊กๆๆ เพื่อเปลี่ยนช่อง ส่วน TV รุ่นใหม่ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนช่องโดยการกดปุ่มหรือไม่ก็ใช้กดปุ่มรีโมท ไม่ว่าจะเปลี่ยนช่องด้วยวิธีไหนผลที่ได้ออกมาก็เหมือนกันคือได้ดูในช่องที่ต้องการจะดู กล้องก็เหมือนกันมีการออกแบบให้เข้ายุคเข้าสมัยแต่จุดสุดท้ายก็ปรับไปค่าๆ เดียวกันซึ่งให้ผลการถ่ายภาพออกมาสวยงามอย่างที่ตาเห็น
ภาพเกิดจากแสงที่ตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์ม แล้วเกิดเป็นภาพต่างๆ ตามความเข้าของสี ถ้าหากแสงเข้ามากเกินไป ภาพก็จะสว่างมากจะมองไม่เห็นรายละเอียด เราเรียกว่าภาพโอเวอร์ ( over expossure )
ตัวอย่างภาพ over ( แสงมากเกินไป )
ถ้าแสงน้อยเกินไปภาพก็จะมืดสีไม่สวยงามดำๆ ไม่สวย เราเรียกว่าภาพอันเดอร์ ( under expossure )
ตัวอย่างภาพ under ( แสงน้อยเกินไป )
ตัวอย่างภาพ แสงพอดี
กล้องมีการปรับปริมาณแสงที่จะตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์มได้ 2 วิธีคือ ปรับความเร็วชัตเตอร์ และ ปรับขนาดรูรับแสง
ความเร็วชัตเตอร์ คือความเร็วในการเปิด – ปิด ช่องรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการเปิดและปิดกั้นแสงที่จะเข้าไปโดนฟิล์มคือม่านชัตเตอร์ ลองเปิดฝาหลังกล้องออก ( เหมือนเวลาใส่ฟิล์ม ) แล้วลองกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นแผ่นบางๆ เคลื่อนที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน ตัวที่เคลื่อนที่ขึ้นลงเพื่อเปิดปิดกั้นแสงนี้คือม่านชัตเตอร์ ระยะเวลาสั้นๆ ในการเปิด-ปิดนั้น จึงเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์ หรือ Speed ในภาษากล้องเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง ความเร็วในการเปิดปิดแสงของม่านชัตเตอร์ Speed มีตั้งแต่ช้าจนถึงเร็ว เช่นปล่อยให้แสงเข้ากล้องเป็นเวลา 1 วินาที ,ครึ่งวินาทีหรือ ½ วินาที ,ครึ่งของครึ่งวินาทีหรือ ¼ วินาที , 1/8 วินาที ->ไปจนถึง 1/500 วินาที , 1/1000 วินาที , 1/2000 วินาที , 1/4000 วินาที และสูงสุดในปัจจุบันที่ 1/8000 วินาที หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า ถ้าเราแบ่งช่วงเวลา 1 วินาทีออกเป็น 8000 ส่วน ความเร็วขนาดนี้ไวมากเพียงเศษของ 1 ใน 8000 ส่วนนั้น เร็วจนสามารถหยุดหัวลูกปืนที่ยิงออกไปจากกระบอกปืนได้ ทั้งๆ ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ ( ถ้าคงเห็นได้หากใครยิงเราก็คงหลบทันซินะ ) วิธีการเขียนแบบเศษส่วนนี้ดูแล้วก็ชวนเวียนหัวดังนั้นจึงเขียนใหม่ให้เข้าใจง่ายๆ และใช้พื้นที่เขียนน้อย คือ 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250 , 500, 1000, 2000, 4000, 8000 และ B ( นานเท่าที่ใจเราต้องการ ) ดังนั้นเมื่อเห็นตัวเลขมากขึ้นอย่าเข้าใจว่ายิ่งช้าลง เพราะตัวเลขนั้นย่อมาจากเศษส่วนใน 1 วินาที บางรุ่นก็สามารถเปิดได้นานถึง 30 วินาที จนเร็วที่สุดถึง 1/8000 วินาที ปกติก็จะอยู่ระหว่าง 1-2000 วินาที ซึ่งเร็วเพียงพอแล้วสำหรับการถ่ายภาพแบบธรรมดา
การปรับความเร็วชัตเตอร์ กล้อง SLR แมนนวล ปรับโดยการหมุนแป้นปรับบนตัวกล้อง
***หมายเหตุ ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นละ 2 เท่า ระว่าง 1 ขั้นที่เพิ่มขึ้นเราเรียกว่า 1 stop
ม่านชัตเตอร์เปิด-ปิดช้าหรือเร็วมีผลอย่างไรต่อปริมาณแสง พูดถึงแสงอาจจะทำให้เข้าใจยากเพราะมันไม่มีปริมาณให้เราสัมผัสได้ ขอยกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายกว่าคือ น้ำ ถ้าเราใช้สายยางต่อจากก๊อกน้ำแล้วรองใส่ถัง ถ้าเราเปิดก๊อกนาน 1 วินาที ย่อมมีน้ำน้อยกว่าการเปิดก๊อกนาน 30 วินาที แสงก็เช่นเดียวกัน ถ้าเปิดให้แสงผ่านนานๆ แสงก็จะไปสะสมบนแผ่นฟิล์มมาก
ถ้าหากเราต้องการปริมาณน้ำมากๆ แต่ก๊อกน้ำเราเล็ก เราก็คงต้องเสียเวลารอนานจนกว่าน้ำจะมีปริมาณตามที่เราต้องการ แล้วยิ่งถูกกำหนดไว้ด้วยว่าห้ามเปิดนานเกินช่วงเวลาที่กำหนด เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้น้ำมีปริมาณเพียงพอในเวลาที่จำกัดไว้ นั่นก็คือเปลี่ยนก๊อกน้ำให้ใหญ่ขึ้น ยิ่งใหญ่น้ำยิ่งไหลมากขึ้นเต็มถังเร็วขึ้น ขนาดของก๊อกก็เปรียบเสมือน ขนาดของรูรับแสง
รูรับแสง
ขนาดของช่องที่ปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปในเลนส์เพื่อรอการเปิดม่านชัตเตอร์ปล่อยให้แสงตกลงบนแผ่นฟิล์ม คือ ขนาดรูรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการปรับขนาดความโตของรูที่แสงจะผ่านคือกลีบแผ่นโลหะในกระบอกเลนส์ มีลักษณะเป็นแผ่นพระจันทร์เสี้ยวหลายๆ แผ่นวางเหลื่อมล้ำกัน เมื่อเราปรับขนาดตัวเลขบนกระบอกเลนส์ ( เลนส์แมนนวล ไม่ใช่เลนส์ออโตโฟกัสนะ ) ก็จะทำให้ระบบกลไกลไปกดไปดันให้แผ่นที่ว่านั้นเปิดเป็นช่องเล็กๆ ทำให้แสงผ่านไปได้ ถ้าหากมีกล้องอยู่ในมือให้ลองเปิดฝาหลังออก แล้วปรับความชัตเตอร์ไปที่ B แล้วส่องกล้องไปยังพื้นที่สว่างๆ แล้วกดปุ่มถ่ายภาพ จะเห็นช่องรับแสงที่เราปรับไว้ ขนาดดูรับแสงมีขนาดต่างๆ ดังนี้คือ f 1.4 , 1.8 , 2.0 , 3.5, 4.5 , 5.6 , 8, 11, 16, 22 ตัวเลขดังกล่าวอาจจะทำให้สับสน ตัวเลขดังกว่ายิ่งมีค่ามากรูรับแสงยิ่งแคบ จากตัวเลขทั้งหมดนี้ f1.4 มีขนาดช่องรับแสงที่กว้างที่สุด และ f22 มีขนาดแคบที่สุด เพื่อทำความเข้าใจกับขนาดรูรับแสง ลองปรับขนาดรูรับแสงบนกระบอกเลนส์แล้วกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นขนาดของรูรับแสงที่มีขนาดแตกต่างกัน
ขนาดของช่องที่ปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปในเลนส์เพื่อรอการเปิดม่านชัตเตอร์ปล่อยให้แสงตกลงบนแผ่นฟิล์ม คือ ขนาดรูรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการปรับขนาดความโตของรูที่แสงจะผ่านคือกลีบแผ่นโลหะในกระบอกเลนส์ มีลักษณะเป็นแผ่นพระจันทร์เสี้ยวหลายๆ แผ่นวางเหลื่อมล้ำกัน เมื่อเราปรับขนาดตัวเลขบนกระบอกเลนส์ ( เลนส์แมนนวล ไม่ใช่เลนส์ออโตโฟกัสนะ ) ก็จะทำให้ระบบกลไกลไปกดไปดันให้แผ่นที่ว่านั้นเปิดเป็นช่องเล็กๆ ทำให้แสงผ่านไปได้ ถ้าหากมีกล้องอยู่ในมือให้ลองเปิดฝาหลังออก แล้วปรับความชัตเตอร์ไปที่ B แล้วส่องกล้องไปยังพื้นที่สว่างๆ แล้วกดปุ่มถ่ายภาพ จะเห็นช่องรับแสงที่เราปรับไว้ ขนาดดูรับแสงมีขนาดต่างๆ ดังนี้คือ f 1.4 , 1.8 , 2.0 , 3.5, 4.5 , 5.6 , 8, 11, 16, 22 ตัวเลขดังกล่าวอาจจะทำให้สับสน ตัวเลขดังกว่ายิ่งมีค่ามากรูรับแสงยิ่งแคบ จากตัวเลขทั้งหมดนี้ f1.4 มีขนาดช่องรับแสงที่กว้างที่สุด และ f22 มีขนาดแคบที่สุด เพื่อทำความเข้าใจกับขนาดรูรับแสง ลองปรับขนาดรูรับแสงบนกระบอกเลนส์แล้วกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นขนาดของรูรับแสงที่มีขนาดแตกต่างกัน
ความเร็วชัตเตอร์ก็ต้องปรับ ขนาดรูรับแสงก็ต้องปรับ แล้วจะปรับกันอย่างไร เมื่อไรจะรู้ได้ว่าแสงพอดี อ่านแล้วชักเวียนหัว ไม่ยากเลยสำหรับการปรับค่าตัวแปรทั้งสองนี้ ตัวที่จะบอกเราได้ว่าปริมาณแสงพอดีหรือยังคือ เครื่องวัดแสงในตัวกล้อง บางรุ่นที่เก่าๆ จะเป็นเข็มเคลื่อนที่ขึ้นลง ไปทางบวกแปรว่าแสงมากไป ลงมาทางลบแปรว่าแสงน้อยไป ต้องปรับให้อยู่ระหว่างกลางพอดี บางรุ่นจะแสดงเป็นไปหรี่จะบอกปริมาณแสงด้วยความความอ่อนแก่ของสี จุดกลางสุดเป็นจุดที่แสงพอดี ขึ้นไปเป็นแสงมากไป ต่ำลงมาเป็นแสงน้อยไป ลองมองแล้วสังเกตแล้วจะรู้เอง สำหรับมือใหม่ที่ถ่ายด้วยมือควรปรับความเร็วชัตเตอร์ไว้ไม่ต่ำกว่า 60 ถ้าช้ากว่านี้ เวลาถ่ายแล้วมือไม่นิ่งอาจจะทำให้ภาพไหวได้ ถ้าจำเป็นต้องถ่ายด้วยความเร็วที่ต่ำกว่านี้ควรใช้ขาตั้งกล้อง
รู้การปรับทั้งสองอย่างไปแล้ว เราก็ยังไม่สามารถถ่ายรูปได้ ก่อนอื่นเราจะต้องใส่ฟิล์มและปรับตั้งค่าความไว้แสงฟิล์มเสียก่อน
การปรับค่าความไวแสงฟิล์ม ฟิล์มที่มีขายในท้องตลาดมีคุณสมบัติในรับการแสงแต่งต่างกันตามความเหมาะสมในการใช้งาน ค่าที่ต่างกันคือค่าความไว้แสง ดังนั้นเมื่อเราใส่เราฟิล์มเราจะต้องปรับตั้งค่าความไว้แสงของกล้องให้ตรงกับค่าความไวของฟิล์ม ถ้าตั้งค่าผิดไป กล้องก็จะวัดแสงผิด ฟิล์มในท้องตลาดจะมีค่าความไวแสงดังนี้ 50, 100, 200, 400, 800 …. ฟิล์มสีที่เราใช้ถ่ายภาพทั่วไปคือ ความไว 100 หรือ ISO100 เราก็ต้องปรับค่า ISO ของกล้องให้เป็น 100 โดยการปรับปุ่มเดียวกันกับปุ่มปรับความเร็วชัตเตอร์ แต่ต้องดึงปุ่มนั้นขึ้นมาหนึ่งจังหวะแล้วหมุนเอาตามความต้องการ แต่ถ้าหากเราไม่ดึงปุ่มที่ว่านั้นขึ้นมาก็จะกลายเป็นหมุนปรับเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์
ก่อนถ่ายภาพแต่ละครั้งอย่าลืม ปรับความชัดของภาพด้วย โดยการหมุนที่กระบอกเลนส์ ของง่ายๆ ลองดูแล้
วจะรู้ได้เอง
วจะรู้ได้เอง
บนกระบอกเลนส์จะมีวงแหวนที่หมุนได้อยู่ 3 วง ในสุดคือ หมุนปรับขนาดรูรับแสง วงกลางคือซูมภาพให้ได้เล็กใหญ่ตามต้องการ วงนอกสุดคือหมุนปรับความชัดของภาพ ตัวเลขสีขาวคือระยะห่างมีหน่วยเป็นเมตร สีเหลืองมีระยะห่างเป็น ฟุต ให้ผู้ถ่ายเลือกใช้เอาเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น